ขั้นตอนการเปิดบ้านเรียน

 

การเปิดบ้านเรียนน้องเติ้ลตะวัน


ตอนที่ 

หาข้อมูลบ้านเรียนที่ไหน

- ช่วง เสิร์ชจาก google หาข้อมูล

- ศึกษาข้อมูล เรื่องHome School ว่าทำยังไง ต้องติดต่อใคร เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมาย

- หาข้อมูลจาก ครอบครัวที่เคย/หรือทำบ้านเรียนอยู่แล้ว ว่าต้องเริ่มยังไง

- พยายามหากลุ่มคนที่เราสามารถติดต่อได้จริง เพราะอาจต้องถามรายละเอียด ด้วยการ

แชทหรือด้วยการโทรศัพท์คุยกัน

- ตอนที่ครอบครัวน้องเติ้ลหาข้อมูล ใช้เวลา 2-3 เดือน กว่าจะตัดสินใจว่า จะศึกษาแบบจริงจัง

ก่อนเปิดHome School

- แหล่ง ที่ได้รับข้อมูลมากมาย

- กลุ่ม เฟสบุค ชื่อ HomeSchool Network ซึ่งมีสมาชิกลุ่ม ราวก 4.5 หมื่นคน

ได้รู้จักเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ทั้งที่ทำบ้านเรียนมาแล้วและกำลังสนใจที่จะทำ ใน กลุ่มนี้

เราสามารถเข้ามาโพสต์ถาม สิ่งที่เราอยากรู้เรื่องบ้านเรียน ทั้งวิธีการเปิดบ้านเรียน 

การจัดกิจกรรมบ้านเรียน หรือปัญหาอื่นใดที่คนทำบ้านเรียนสงสัย

- โรงเรียนรุ่งอรุณ โทรไปขอเอาน้องเติ้ลเข้าบ้านเรียน เจ้าหน้าที่อธิบายด้วยความตั้งใจและเป็นมิตรมากๆ

ข้อดี  ถ้าเราเอาชื่อน้องเติ้ลเข้าเรียนที่โรงเรียนนี้ เราไม่ต้องดำเนินเรื่องจดทะเบียนบ้านเรียนเอง ไม่ต้องไปมีปัญหาทะเลาะ โต้เถียงเอาชนะกับ เจ้าหน้าที่ ที่เขตการศึกษาในพื้นที่จังหวัดตนเอง

ข้อเสีย คือเราต้องเดินทางไปที่ โรงเรียนซึ่งอยู่ กทม. พาเด็กไปให้เค้าดูตัว และพูดคุยและต้องเข้าร่วมประชุม กับ จนท.ที่นั่น เรื่องแผน เรื่องการจัดกิจกรรม ตามแนวทางของโรงเรียน ปีละ 2 ครั้ง เราอยู่ต่างจังหวัด เดินทาง 6 ชั่วโมงอย่างน้อยจะถึง กทม. เวลาไป ต้องตัวเราไป น้องเติ้ลไป และ ครอบครัวเด็กไปรับฟังด้วยเหมือนประชุมครูและผู้ปกครองเลย

เราเลยเก็บไว้เป็นตัวเลือกสุดท้ายไปก่อน

- บ้านเรียนที่ขอบแก่น เราเลยเก็บไว้เป็นตัวเลือกสุดท้ายไปก่อน

- สิ่งที่ได้จากกลุ่ม เฟสบุค HomeSchool Network

ได้รู้จัก คุณแนน ครอบครัวบ้านเรียนในจังหวัดเดียวกัน 

คุณแนนเล่าเรื่องการทำบ้านเรียนและให้พลังบวกมากๆ ทำให้คิดว่าไม่ยากเลยทำได้จริงแท้แน่นอน

คุณแนนแนะนำผู้เชี่ยวชาญรุ่นพี่ชื่อ พี่นิ่ม คุณแนน ได้ส่งตัวอย่างเอกสารต่างๆที่ต้องใช้ให้ดู เป็นไฟล์

Word ที่สำคัญๆทั้งหมดโดยไม่หวงข้อมูลเลย ขอขอบคุณจากใจจริงมากๆครับ

- ได้รู้จักพี่นิ่ม ที่เป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทั้งด้านกฏหมายและการลงมือปฏิบัติเรื่องบ้านเรียนอย่างละเอียด

คอมตรวจแผนการจัดประสบการณ์ แนะนำให้เรามีความเข้าใจด้านข้อละเอียดของกฏหมาย ระเบียบบ้านเรียน

ที่บางครั้ง คนเริ่มต้นอย่างเราๆจะงง และไม่ค่อยเข้าใจหลายๆ แง่มุม และพี่นิ่มแนะนำให้เรารู้จัก คนอื่นๆ

คือ คุณ ข้าวฟ่าง 

- ได้รู้จักคุณข้าวฟ่าง ที่เป็นผู้ช่วยตรวจแผนการจัดกิจกรรม จนจัดทำแผนสำเร็จ นำไปยื่นต่อ เขตพื้นที่ในจังหวัดเราได้




ตอนที่ 2

ทดลองทำ Home School 3 เดือน

ทดลองทำ Home School ต่อเนื่อง ประมาณ 3 เดือน

1.ทดลอง สอนภาษาไทยใหม่

- คุณแม่น้องเติ้ล ลองสอนภาษาไทย ด้วยตัวเองช่วงปิดเทอม เพราะน้องเรียนที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง แต่ไม่ค่อยมีพัฒนาการให้เห็นหรือเป็นอย่างที่ควรจะเป็น น้องเติ้ลตะวันอยู่ป.1 เทอม 1 เทอม 2 แต่อ่านภาษาไทย ไม่ค่อยได้ คำง่ายๆก็ไม่ค่อยได้ อักษร ก-ฮ ยังจำไม่ค่อยได้ ผสมพยัญชนะกับสระยังไม่ได้ ทั้งที่เรียน ป.1 มาแล้ว โดยที่บ้านได้เริ่ม สอนใหม่ทั้งหมด จัดกิจกรรมเกม บัตรคำ น้องเติ้ลตะวัน ช่วยทำสื่อสารเรียนด้วยตนเองกับคุณแม่รุ่ง กิจกรรมที่ทำ เช่น กิจกรรมฝึกฝน ก- ฮ   กิจกรรมรู้จัก สระเสียงยาว กิจกรรมผสมพยัญชนะ+สระเสียงยาว และไล่ไปจนถึงสระผสมเสียงยาว เมืื่อแม่นยำแล้ว จึงไปฝึกสระเสียงสั้นต่างๆในภายหลัง เมื่อครบ 3 เดือน น้องตะวันก็สามารถอ่านหนังสือภาษาไทยเล่มมานีมานะ ป.1 ได้ครึ่งเล่ม ได้ดีจากเดิมมากมาย คนที่จะมาสอนน้องต่อ ก็ทำได้โดยง่ายดาย เพราะน้องเข้าใจการผสมสระแล้ว

2. ทดลอง สอนการพูดการสื่อสาร

- ขณะฝึกอ่านฝึกสะกดภาษาไทย แผนของการทดลองคือไม่เน้นเขียนได้ เน้นให้อ่านคำต่างๆได้ก็เพียงพอ แทบไม่ให้เขียนเลย เพราะน้องตะวัน เป็นเด็กการเขียนการบังคับมือไม่คล่องเท่าผู้ใหญ่ ถ้าเขียนเยอะ จะทำให้การเรียนเคร่งครัดผิดที่เกินไป ให้เขียน แค่ครั้งละ 4-5 คำต่อครั้งก็พอ

เมื่ออ่านได้เนื่องจากในโรงเรียนเด็กมีจำนวนมากกว่า 40 ต่อห้องจึงทำให้น้องตะวันถูกสอนแบบเสียไปที คือถ้าทำได้ก็ดี ถ้าทำไม่ได้ ก็จะไม่รู้เรื่อง ต้องให้ที่บ้านสอนต่อเป็นเช่นนี้เรื่อยมา

ขณะที่ฝึกฝนการอ่านน้าและแม่รุ่งผู้สอนภาษาไทยในบ้าน ก็ฝึกให้น้องตะวัน บรรยายเล่าเรื่องจากรูปในหนังสือทุกครั้ง ที่ถึงชั่วโมงเรียน ซึ่งจะทำให้น้องได้ฝึกพูด ฝึกอธิบายโดยเริ่มจากถามน้องว่าเห็นอะไรบ้าง มีคนกี่คนในรูป บรรยายกาศในรูปเป็นยังไง เช้า หรือมืด เย็น คนในรูปรูปร่างหน้าตาอย่างไร ใส่ชุดอะไร ทำไปเรื่อยๆครับ 10-20 วัน เราใช้เวลาให้น้อย 30-50 นาที ต่อ 1 กิจกรรมก็พอ อย่างที่เราสอนน้องตะวัน ภาษาไทยใช้เวลา 50 นาที แต่ทำทุกๆวัน ต่อเนื่อง ไปต้องไปทำเพิ่มอะไรมากกว่านี้ เพราะจะน่าเบื่อกับเด็ก หลังจาก 10 วันน้องจะเริ่มกล้าบรรยายรูป อยากเล่าเรื่องจากภาพที่เห็น กระตือรือร้น จนเห๋็นได้ชัด

3. ทดลอง สอนภาษาอังกฤษ

- ผมซึ่งสมัยเรียน ประถม มัธยม จนถึงระดับมหาลัย เราทุกคนก็เคยเรียนภาษาอังกฤษกันมา อีกทั้งส่วนตัวผมก็เคยเรียนในคอร์สภาษามาบ้าง ส่วนตัวชอบภาษาอังกฤษไม่เก่งแต่รู้และเข้าใจ ว่าควรจะเริ่มยังไงกับบ้านไทยๆที่ไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษ และเพื่อน้องเติ้ลจะได้รู้จักภาษาอังกฤษ ไม่อ่อนด้อยไปกว่าเด็กๆที่เรียนตามโรงเรียนทั่วๆไปด้วย เดิมทีเลย น้องตะวันไม่สามารถจำ ตัว ABC ได้ ตอนที่ถามน้องว่า ที่ป้ายโฆษณา นั่นน่ะตัวอะไร รู้ไหม เค้าตอบได้แค่ 2-3 ตัว คือจำไม่ได้ แต่เค้าท่อง A-Z ได้ เราก็แปลกใจว่าเอ้าที่โรงเรียนเค้าใช้วิธีสอนยังไง ทำไมเป็นแบบนี้ เลยไปเปิดดูหนังสือหลาน เพราะปกติเราก็คิดว่าเราไม่เก่ง คงสอนหลานไม่ได้ ก็สอนให้แต่วิชาที่เราสอนได้ อันไหนไม่ได้ ให้โรงเรียนสอนแล้วกัน เค้ามีครูอังกฤษ มีครูวิชาต่างๆ สรุป คือ หนังสือเรียนของน้องที่ได้มาจากโรงเรียน ของป.2 เด็ก 8 ขวบ บ้านนอก หนังสือมันยากมาก เป็นเนื่อเรื่อง เหมือนของเด็กฝรั่งเลย ต้องอ่านแล้วทำแบบฝึกหัด แล้วเด็กไทยๆ ระดับนี้ จะอ่านได้ยังไง ยากมากๆ ขนาด A-Z ยังทำไม่ได้ ผมเลยเอาใหม่ ไม่สนใจ ไม่ยึดเล่มของโรงเรียนล่ะ มันยากมันข้ามขั้น ไม่มีทางที่เด็กๆจะอ่านในเล่มนั้นได้ ขนาดเด็กฝรั่งยังอ่านยากเลยครับบอกตรงๆ ผมเริ่มสอนโดยจัดกิจกรรม ดังนี้

-ทำบัตรคำ A-Z 2. เอามาเล่นเกม ทางยกบัตรคำแล้วถามว่านี่อะไร โดยถ้าทายได้ ยื่นบัตรให้เด็ก แล้ว เอาคิดเป็นแต้ม ว่าได้กี่ใบ  แรกน้องตะวัน ตอบถูกประมาณ 8-9 บัตรคำ  นอกนั้นไม่ได้ 

- ทำตอเนื่องทุกวันไม่เร่งรัด ทำกิจกรรม ความรู้ด้วยโดยการ ท่องบนกระดานเป็นบางครั้ง เวลาที่ท่องบัตรคำ เราใช้ตอนก่อนนอน เพราะ  บรรยากาศจะสบายๆ ทั้ง ยาย ทั้งแม่รุ่ง ทั้งน้า มาทายด้วยกัน ทุกคน คนไหนได้บัตรเยอะคนนั้นชนะ 

- ให้น้องตะวัน ฟังเพลงA-Z ในยูทุปแล้วเต้นด้วยกัน กับแม่กับน้า สนุกสยายมากๆ

- ทำแบบนี้ประมาณ เกือบ 1 เดือน น้องจะจำได้หลายตัวมากขึ้น น่าจะจำได้ ประมาณ 18 - 20 คำแล้ว ซึ่งมีทั้งหมด 26 ตัว ใกล้เป้าหมายเข้ามาทุกที ตัวที่น้องจะลืมบ่อยๆ ผมจำได้เลย คือ ตัว n t h s r และอื่นๆ ประมาณ 5-6 ตัวท้ายๆ ที่ไม่แม่นเลย ทำกี่ครั้งก็หลงๆลืมๆ ผมเลยทำแบบฝึกพิเศษ ปรินซ์เองพิมพ์เอง ให้เอาตัวที่ลืม มาทำเป็นแบบฝึกเขียนไทย ได้ คำนั้นๆเลย

- 1 เดือนกับ 10 วัน น้องจำได้ทั้งหมดแม่นยำมากๆ ไม่ต้องท่อง A-Z แล้ว แค่จำได้ว่าตัวไหน ชื่ออะไรก็เพียงพอที่จะทำขั้นต่อไป

- ระยะที่ 2 ผมให้น้องฝึก เทียบพยัญชนะไทย กับ A-Z แล้วค่อยสอนผสม สระ a i o เดือนละ 2 - 3 สระก็พอ ไม่เร่งไม่นเน้น เพราะอังกฤษยังไม่จำเป็นในตอนนี้ ขอเน้นภาษาไทยให้แตกฉาน และ คณิตไม่ให้มีปัญหา +กับทำสิ่งที่เด็กสนใจไปด้วยคือเล่น ศิลปะ กิจกรรมเข้าสังคมเพื่อนๆวัยเดียวกัน

4. ทดลอง สอนคุณธรรม มารยาท

- ทุกครั้งที่สอนภาษาไทย จะมีคำใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ เด็กพร้อมเรียนรู้ ถ้าเราให้เวลากับเค้า มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมสอนภาษาไทย มีคำว่า ประโยชน์ ผมถามน้องว่ารู้จักไหม แปลว่าอะไร น้องบอกไม่รู้ ผมเลยอธิบาย ว่าประโยชน์ คือ ยังใช้งานได้ ช่วยเหลือคนอื่นๆ หยิบจับของช่วยคนอื่นเราจะมีประโยชน์ แต่ขยะไม่มีประโยชน์ ก็จะถูกเอาไปทิ้งเผาไฟ เพราะไม่มีประโยชน์ เอาไปใช้ทำอะไรไม่ได้ พออธิบายเสร็จ น้องก็เข้าใจคำนี้ เราถามต่อว่า เติ้ล คิดว่ายายมีประโยชน์ไหม ยายอายุมากแล้ว  คุณตามีประโยชน์ไหม น้อง ยังงงๆ เราเลยบอกว่า ยาย ทำอาหารให้หนูกิน แม่คอยดูแล ซักผ้า อาบน้ำให้หนู ทำงานหาเงิน ตา คอยเตรียมคอมพิวเตอร์ให้หนูตอนเรียนกับน้า ทุกคนล้วนมีประโยชน์ เราถามเค้าว่า หนูตะวัน อยากมีประโยชน์ไหม หรือยังไง น้องตอบว่าอยากมี เราเลยแนะนำว่างั้นก็ช่วย ยายกรอกน้ำ ช่วยแม่กวาดบ้าน เก็บที่นอนตัวเอง ช่วยเหลือ ยาย ยายแก่แล้ว 

- บางครั้งน้องดื้อ ใช้เสียงดัง กับยาย กับ แม่  เราก็แนะนำเค้า ว่า เติ้ลตะวัน ชอบไหม เวลาแม่ กับน้า กับยาย พูดเสียงดังใส่หนู สนุกไหม บรรยายกาศดีไหม น้องบอกว่าไม่ชอบให้ใครตะโน หรือด่าเสียงดัง เราสอนต่อว่า งั้นเราก็จะไม่ทำกับ ยาย แม่ และคนที่เรารัก ใช่ไหม ถ้าเราไม่ดื้อ บอกยาก สอนยาก เค้าบอกให้หยิบของมาให้หน่อย เราก็ช่วยเค้าได้ เราดูการ์ตูนและเดินเอาของให้แม่ได้ ไม่เห็นต้องโวยวายใส่แม่ เพราะกำลังดูการ์ตูนอยู่ เราพูดดีๆด้วยเหตุด้วยผลได้ เชื่อไหมครับสิ่งต่างๆที่เราแนะนำเค้าด้วยเหตุด้วยผล ภายในสัปดาห์นั้น น้องตะวันก็ทำหลายๆอย่างด้วยเหตุด้วยผล ไม่โวยวาย เสียงดังใส่ยาย และเดินไปช่วยยายหยิบจับของ กรอกน้ำ โน่นนี่ จนผมต้องตะลึงกันเลย ว่า เออ คำสอน การพูดดีๆ มันส่งผลดีมากกว่า การด่าๆ ดุๆ เสียอีก ทุกวันนี้เวลาน้องทำอะไรผิดพลาดเราก็สอนน้องเลย นั่งคุยกัน แนะนำเค้าด้วยความรัก พูดเหมือนเค้าเป็ฯผู้ใหญ่คนนึง มันได้ผลยิ่งกว่าได้ผลจริงๆครับ

5. ทดลอง สอนความกล้าใช้เหตุผล กับผู้ใหญ่และคนรอบตัว

- เมื่อน้องตะวันโตขึ้นก็อาจกลัวครูที่โรงเรียน ครูสอนโดยใช้อำนาจมากเกินไป หรือทำร้ายเด็กนักเรียน ด้วยวิธีเฆี่ยนตี ซึ่งการตีมักเป็นไปตามอารมณ์ครู ถ้าครูโมโหมากก็เฆี่ยนแรงมาก ไม่ถูกต้องเลย เด็กๆสู้ผู้ใหญ่ไม่ได้ถ้าตี เด็กเด็กไม่มีทางสู้เค้าป้องกันตัวเองไม่ได้ ครูเป็นผู้ใหญ่กำลังมากกว่า ตัวโตกว่า เด็กก็ต้องกลัว ครูขว้างปาของใส่ ครูตะคอก ครูห้ามเข้าห้องน้ำไปอึ ไปฉี่ มากมายหลายประการ จนผมเองก็ต้องสอนน้องตะวันให้กล้าหาญ กล้าแย้งถ้าเห็ฯว่าสิ่งนั้นเค้าไม่ผิด หรีือ มันรุนแรงเกินไป ทางร่ายกายทางจิตใจ ผมสอนให้น้องว่า หนูสามารถแย้งด้วยเสียงปกติ ไม่ต้องตะโกน โดยการถามว่า ทำไมต้องตีหนู หนูทำผิดอะไร ใช้วิธีลงโทษด้วยวิธีอื่นได้ไหม  แม่ตีหนูทำไม ทำไมไม่ค่อยๆอธิบายหนู สอนให้เค้ากล้าถาม และไม่ต้องกลัว คนโต เพราะคนโต ไม่ได้ทำถูกทุกสิ่งเสมอไป แต่อย่าไปด่ากร้าวร้าวคนโตเค้า หนูอย่ากลัว จนไม่กล้าพูดกล้าถาม โน่นนี่

- วิธีที่จัดกิจกรรมในบ้าน คือ ให้น้องมีส่วนร่วมในการ ทำกิจกรรมทุกอย่าง จัดห้องยายให้มาช่วยหยิบจับ ไปทำไรให้ไปดูไปรถน้ำ นิดๆหน่อย แม่ทำอาหารไปช่วยหยิบจับ จะซื้ออะไรใส่ห้องนอนเด็กให้ถามเด็กว่าชอบไหม แล้วค่อยซื้อ ให้เด็กมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ของกิจกรรมในครอบครัว ถามเค้าก่อนว่าชอบไหม แล้วค่อยพาไป เพราะวิธีการนี้จะทำให้เค้ารับรู้ ว่าเค้ามีส่วนร่วมและคุนเคยกับการพูดคุย  กระบานการคิดของผู้ใหญ่ รู้ว่าใครทำสิ่งนี้ เค้าก็ทำเค้าก็มีสิทธิ พูดตอนที่ผู้ใหญ่คุยในเรื่องที่เค้าก็ได้ทำ แฟร์ กับเด็ก เวลาติเค้าจะถามเค้าว่ารู้ตัวไหมว่าตัวเองทำไมโดนด่า คิดว่าที่แม่ ท่ีน้า บ่นด่า สมควรไหม หรือว่า พวกน้า กับแม่ ไม่มีเหตุผล แล้วถ้าไม่ให้บ่น จะให้พวกเราเตือนยังไง โน่นนี่ ประมาณนี้ครับ

- ทุกวันนี้น้องเติ้ลตะวัน มีอิสระในการพูด การคิดมากๆ และไม่กร้าวร้าว มีขอบเขตที่สังคมไทยปรารถนา ดีมากในระดับสมวัย กล้าแสดงความเห็น กล้าติคุณยาย กล้าติน้า กล้าติแม่กลับ ถ้าแม่ทำผิด ผมว่ามันดีมากจริงๆ ยังคิดเลย ทำไมตอนเราเป็นเด็กไม่มีใคร ฝึกสอนแนะนำเราแบบนี้บ้างนะ

6. ทดลอง สอนให้รู้จักระมัดระวัง การดูแลตัวเอง

- ขณะที่เราสอนความรู้ วิชาการ อังกฤษ คณิต ไทย ให้น้องเติ้ลตะวัน เรากก็ไม่ลืมที่จะฝึกให้น้องแนะนำตัวนะครับ เพราะตอนที่ได้ลองสอนเอง ได้ใช้เวลาได้เข้าใจเค้ามากขึ้น เห็นข้อผิดพลาด ข้อเด่น ด้อยของเด็กได้ชัดมาก เด็กคือเด็ก เค้าจะเล่นสนุกโดยบางที ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัย ผมเลยถามเค้าว่า เติ้ลตะวันคิดว่า อะไรอันตราย บ้าง ที่อยู่รอบตัวเราอะไรต้องระวัง ลองบอกน้ามาซิ เค้าก็บอกเรื่องปลั๊กไฟ เราบอกว่าถูก มีอย่างอื่นอีกไหม และคุยกันจนได้ ทราบถึงอันตรายรอบตัวที่เราต้องระมัดระวัง ว่ามันอาจจะเกิดขึ้นกับเค้า เพราะขนาดเราเป็นผู้ใหญ่ตอนหลงลืม ประมาทยังพลาด เกิดเหตุล้ม หรือ บาดเจ็บกันได้เลย อันตรายที่สอนหลานไปตอนนั้น คือ การเสียบปลั๊ก ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วย เพราะเค้า 7 ชวบตอนนั้น เลือกใช้ถ้วย ชามที่ไม่หล่นแล้วแตกได้ ใช้แก้วพลาสติกดื่มน้ำดีกว่า แก้วใสๆหล่นแล้วแตก การเดินไปเล่นใกล้ๆเตาไฟ น้ำต้มเดือด การถือมีด ไปให้แม่อย่าวิ่ง ถ้าล้มเสียบไส้แตกเลย เล่นในพื้นที่ที่เรามองเห็นได้ว่า มีสัตว์อันตรายไหม ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง เก็บของเล่นถ้าเล่นเสร็จ รักของตัวเอง รักตัวเอง ดูแลตัวเอง สอนไปเรื่อยๆครับประมาณว่าปลูกฝัง แนะนำบ่อยๆพูดซ้ำๆแบบ ใจเย็นๆ พูดคุยกัน 2 ทาง  ถามให้น้องตอบไปมา เค้าจะได้คิดด้วย อย่าสื่อสารทางเดียวครับ




ตอนที่ 3

เขียนแผนการเรียนรู้


เขียนแผน เริ่มยังไงดี 

ช่วงเริ่มเขียนแผน เนื่องจากทางครอบครัว ก็ไม่มีประสบการณ์มาก่อน ถือว่าเป็นการทำครั้งแรก แต่ก็ได้ที่ปรึกษา จากกลุ่ม เฟสบุค ชื่อ HomeSchool Network  ตัวอย่างของบ้านเรียนอื่นๆที่ค้าหาได้ทางอินเตอร์เน็ต และผู้ปกครองบ้านเรียน ในจังหวัดเดียวกัน ต้องขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเขียนแผนบ้านเรียนครั้งนี้ (พี่นิ่ม คุณแนน คุณข้าวฟ่าง)ขั้นตอนเขียนแผนสำหรับข้าพเจ้า ก็ถือว่ายากที่สุดทั้งๆที่ชีวิตก็เคยเขียนแผนการเรียนการสอนมาพอสมควรเพราะ เคยสอนในโรงเรียนประถมมาก่อน และเคยทำงานด้านการศึกษามาบ้าง

 หัวข้อ ที่เขียนในแผน

1. ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว

ข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดการศึกษา (กรณีที่ไม่ใช่ บิดา มารดา) ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการศึกษาและดำเนินงานทางเอกสาร

2. ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน

   2.1 ระบุข้อมูลของผู้เรียน

   2.2 พัฒนาการของผู้เรียน

3. ระดับการศึกษา

เหตุผลในการจัดการศึกษา

จุดหมายในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว

จุดมุ่งหมายเฉพาะของครอบครัว มีดังนี้

4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ / จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา / แนวทางการจัดการเรียนรู้

5. รูปแบบการจัดการศึกษา

6. การจัดกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้

โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มประสบการณ์ สามารถแบ่งกระบวนการเรียนรู้เป็น 7 กลุ่มประสบการณ์ ดังนี้

ตารางแสดงการจัดสาระการเรียนรู้ตามกลุ่มประสบการณ์ กิจกรรมการเรียนรู้

โครงสร้างเวลาเรียน

7. การจัดกระบวนการเรียนรู้

7.1 วิธีดำเนินการเรียนรู้

7.2 สื่อการเรียนรู้

ตารางกิจกรรมของผู้เรียนใน 1 สัปดาห์

8. การวัด และประเมินผลการเรียนรู้

1. การประเมินผลตามสภาพจริงรายปี

1.1 ครอบครัวดำเนินการประเมินผลเพื่อแสดงผลพัฒนาการเรียนรู้รายปี…

1.2 การติดตามประเมินผลพัฒนาการเรียนรู้ตามสภาพจริงรายปีร่วมกับสำนักงาน…

2. การประเมินผลตามสภาพจริง เพื่อตัดสินการจบระดับชั้นประถมศึกษาร่วมกับสำนักงาน

2.1 คณะกรรมการประเมินผลทั้งสองฝ่ายกำหนดแนวทางในการวัด…

2.2 การประเมินผลเพื่อตัดสินผลการจบระดับการศึกษาประถมศึกษา…

3. การติดตามประเมินผล

4. วิธีการอื่นๆ

5. การเลือกใช้ระดับผลการเรียน

ตารางแสดงเกณฑ์การประเมิน : การเลือกให้ระดับคะแนน ครอบครัวเลือกระบบตัวเลข

ระบบตัวเลข

9. แผนภูมิแสดงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สำหรับ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

 

ตรวจแผน ครั้งที่  1  โดยกลุ่มเครื่อข่ายบ้านเรียน

ก่อนจะส่งแผนไปให้ สพป./สพฐ. ตรวจเราก็ควรตรวจตราความผิดพลาดว่าแผนของเราที่เขียนไปว่ามีจุดผิดพลาดอะไรบ้าง โดยทีมปรึกษาที่เราหามาได้ จากในกลุ่มเฟสบุค ในเพจเดิมที่แนะนำไปข้างต้นแล้ว รวมถึงกลุ่มเพื่อนบ้านเรียนในจังหวัดของเราเอง เพราะเรายังมือใหม่คงเขียนแล้วสมบูรณ์ในคราวเดียวไม่ได้แน่ๆ ส่งไลฟ์แผนไปให้พี่นิ่ม คุณ ข้าวฟ่าง ช่วยตรวจ อาจใช้เวลา 3-7 วันกว่าทีมช่วยตรวจแผนจะตรวจและแก้คำที่เหมาะสมส่งคืนมาให้เรา โดยเราส่งไลฟ์ตรวจกันผ่าน เฟสบุคเลย คือแชทกันประจำในเฟสบุค แชททีละ 3-4 คนเพื่อให้คำปรึกษาเราตลอดตั้งแต่เริ่มต้นเลย ขอบคุณเครื่อข่ายบ้านเรียนมากๆ

หลังตรวจเสร็จ

ก็ได้แผนที่พร้อมส่ง ส่วนตัวขั้นตอนการเขียนแผนใช้เวลานานที่สุด ประมาณ 7 วันเพราะจะมีอารมณ์การพิมพ์การเรียนเฉพาะตอนกลางคืน กลางวันก็ทำงาน ทำโน่นนี่ไปจะวุ่นๆทั้งวัน ปัญหาคือบางทีมันก็คิดไม่ออกว่าจะเขียนยังไงให้มันสละสลวยสวยงาม ให้คำที่เขียนดูเป็นวิชาการมีวคามน่าเชื่อถือ เพราะตอนที่เขียนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจแบบภาพรวมทั้งหมดของคู่มือการทำโฮมสคูล




ตอนที่ 4

ทำเอกสารอื่นๆขอเปิดบ้านเรียน


ทำเอกสารเพื่อยื่นขอเปิดบ้านเรียน เพื่อแนบไปพร้อมกับแผน

เมื่อเขียนแผนเสร็จ เราก็ต้องเตรียมเอกสารอื่นๆด้วย เพื่อจะได้ไปยื่นเอกสารขอเปิดบ้านเรียนให้จบในครั้งเดียว

เอกสารที่ใช้ยื่นมีดังนี้

1. สําเนาหรือภาพถ่าย ทะเบียนบ้านของครอบครัวผู้เรียนและผู้จัดการศึกษา รวมจํานวน ........ฉบับ 

2. สําเนาหรือภาพถ่าย บัตรประจําตัวประชาชนของครอบครัวผู้เรียนและผู้จัดการศึกษา รวมจํานวน.......ฉบับ 

3. สําเนาหรือภาพถ่าย สูติบัตรของผู้เรียน จํานวน 1 ฉบับ 

4. สําเนา หลักฐานวุฒิการศึกษาสูงสุดของผู้เรียน จํานวน 1 ฉบับ 

5. สําเนา หลักฐานวุฒิการศึกษาของผู้จัดการศึกษา รวมจํานวน ฉบับ 

6. ที่ตั้ง และแผนผังสถานที่จัดการศึกษา จํานวน 1 ฉบับ 

7. แผนการจัดการศึกษา จํานวน 1 ชุด 

8. แบบยื่นความประสงค์ขอจัดทําแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว จํานวน 1 ฉบับ 

9. คําขอมีบัตรประจําตัวผู้เรียน จํานวน 1 ฉบับ 

10. รูปถ่ายผู้เรียน ขนาด 1 นิ้ว จํานวน ......รูป 

11. หนังสือรับรองที่อยู่ของผู้เรียนที่ไม่มีทะเบียนบ้านในภูมิลําเนา จํานวน 1 ฉบับ (ถ้ามี) 

12. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือทะเบียนบ้านของผู้รับรอง (กรณีที่มีเอกสารข้อ11) จํานวน 1 ฉบับ 

13. ใบมอบอำนาจให้จัดการศึกษาและเป็นผู้ดูแลพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ตามแผนการศึกษาร่วมกับมารดา

และเป็นผู้ดำเนินการเรื่องเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา

14. อื่นๆ (โปรดระบุ)............แบบคำขออนุญาตการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว..................

หมายเหตุ เซนชื่อ ในสำเนาของทุกคน บัตรประชาชนของใครก็ให้เจ้าของบัตรเป็นผู้ลงชื่อ

เตรียมไว้ก่อนไปส่ง แต่เนินๆทำเอกสารเป็น 2 ชุด เพื่อจะเก็บไว้กับเรา 1 ชุด และให้ สพป. ไป 1 ชุด



ตอนที่ 5

นัดหมาย สพป./สพฐ.

โทรคุยนัดหมายกับ สพป./สพฐ.

เอกสารทุกอย่างที่จำเป็น และแผนการสอน พร้อมส่ง เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนเราก็ควร นัดหมายเจ้าหน้าที่ ใน สพป. ที่เกี่ยวข้องเรื่องบ้านเรียน ให้จัดตารางให้เรา เพื่อรับหนังสือยื่นเปิดบ้านเรียน เพราะอย่าลืมว่าหน่วยงานราชการบางทีอาจจะเดินทางไปทำงานนอกสถานที่ หรือ มีประชุมต่างจังหวัด ถ้าไม่นัดเราจะไปแล้วอาจจะไม่เจอ เจ้าหน้าที่ที่เราต้องการติดต่อ ซึ่งจะทำให้เราเสียเวลาในการเดินทาง เวลาพูดคุยอย่าไปกลัว เค้าก็คนเราก็คน เค้าควรให้คำปรึกษาเรามากกว่าการสกัดกั้นสิ่งที่เราทำ 

เวลาโทรคุยกับ เจ้าหน้าที่ทุกครั้งควรบีนทึกเสียงเอาไว้ ตั้งแต่เริ่มแรกเพราะ การเปิดบ้านเรียนเป็นเรื่องใหม่ อาจเกิดปัญหาการปัดเรื่อง ไม่อำนวยความสะดวกเท่าที่ควรกับครอบครัวก็เป็นไปได้


ตอนที่ 6

เดินทางไปส่งแผนที่ สพป./สพฐ.


ส่งแผน ให้สพฐ. เดินทางไป สพป.

ควรเดินทางไปก่อนเวลา เผื่อเราไม่รู้ทาง ไปเร็วกว่ากำหนดสัก 1 ชั่วโมง เผื่อเวลาเดินหาตึก 

สำคัญมากๆ อย่าลืมบันทึกวิดีโอ วันไปติดต่อ

  • ติดต่อเจ้าหน้าที่ ขอยื่นเอกสาร

  • ให้เจ้าหน้าที่ เซนรับใบนำส่งเอกสาร ถ้าเจ้าหน้าที่ปฏิเสธ เราก็ต้องยืนยันว่า ต้องเซนเพราะ เราประชาชนมายื่นเอกสารราชการ คุณมีหน้าที่เซนรับ ไม่มีสิทธิ์ที่จะไม่เซนเพราะเป็นการยื่นหนังสือปกติ ไม่ใช่เอกสารส่วนตัว เป็นหนังสือติตต่อราชการ

มีเหตุการวุ่นวายนิดๆ

กรณีที่เกิดขึ้นกับบ้านเรียน ของครอบครัวนี้

- จนท.ปฏิเสธที่จะเซนชื่อใบนำส่งเอกสาร เราเลยบอกว่าไม่ได้ขออนุญาตนะ คุณต้องเซนเพราะ หนังสือทุกฉบับที่ประชาชนมาติดต่อราชการ ถ้าไม่มีคนเซนรับ ก็ไม่ต่างจากเศษกระดาษขยะที่ทิ้งข้างทาง หากคุณไม่เซนจะร้องเรียนการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชน จะเอาเรื่องให้ถึงที่สุด

  • จนท. คนแรก เสียงแข็งว่าไม่อยากรับเอกสาร โดยเอาคู่มือบ้านเรียนมาอ้างอิงว่า โน่นนี่ เราต้องตามให้ทัน อย่ายอม (ก่อนจะมาเราศึกษาปัญหาแล้วปรึกษากับผู้รู้ในกลุ่มเครื่อข่ายบ้านเรียน จากเพจ Homeschool Network ทำความเข้าใจกฏหมายบ้านเรียน กฎหมายการศึกษาในประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องเก่งกฎหมายแต่ให้เข้าใจภาพรวมให้ดีจะได้ เถียง/โต้แย้ง กับ จนท.ได้ถูกจุด) อย่า- อายอย่าท้อ อย่ายอม ขณะสนทนาเรียกร้อง สิทธิของครอบครัวในการจะเปิดบ้านเรียน

  • อย่าไปติดต่อคนเดียว แนะนำให้ ขนกันไป 3-5 คนยิ่งดี จะได้ดูมีอำนาจกว่าเจ้าหน้าที่ อย่าด่าเจ้าหน้าที่ เพราะเราจะเสียแต้มความชอบธรรม ให้พูดเพราะๆแต่ ต้องไม่ยอมต้องยึดกฎหมาย พรบ.การศึกษา ช่วงเราเริ่มเขียนแผน และช่วงพูดคุยกับ เพื่อนๆบ้านเรียน เราจะเข้าใจหลายสิ่งด้าน พรบ.การศึกษาไทย 

  • เมื่อคุยกันได้ ไม่สำเร็จเราจึงขอคุยกับ ผอ. สพป. ขอคุยกับผู้ที่ตำแหน่งใหญ่กว่านี้ เพราะแบบนี้เราถือว่าบ่ายเบียง ไม่รับเด็กของเรา เพียงเพราะ น้องเค้ามีชื่อในทะเบียนบ้าน อีกจังหวัดหนึ่ง แต่มาขอเปิดบ้านเรียนในจังหวัดที่พำนักจริงในปัจจุบัน ซึ่งคู่มือบ้านเรียนก็ระบุไว้ว่า ให้ถือว่า ที่อยู่ที่อาศัยอยู่จริงในปัจจุบัน สามารถยื่นขอในจังหวัดที่เด็กพำนักที่นั่นได้เลย จนท.จะ ไล่เราไปขอจังหวัดตามทะเบียนบ้านเราก็อย่าไปยอม เพราะอาจเป็นเพราะว่า จนท.ไม่อยากรับภาระการมาดูแลบ้านเรียน เหมือนเป็นการเพิ่มงานให้กับหน่วยงานของเค้าด้วย 

  • เราเดินทางมากัน 4 คน มีทั้งวัยรุ่นแยะเยาชน และวัยทำงาน ทุกคนก็มีประสบการณ์ระดับหนึ่ง สุดท้ายเราก็ได้คุยกับ ผอ.สพป. เรื่องมันแรงมากๆในวันที่ไปติตด่อเกือบไม่ได้ล่ะ เราก็พูดเสียงดังฟังชัด คือไม่อายที่จะโต้แย้งและมั่นใจว่า ทุกอย่างทำได้จริงๆ ผอ.สฟป. รับเอกสารของเราและลงชื่อรับเอกสาร สุดท้ายก็แฮบปี้เอนดิ้ง

  • อบคุณ ท่านผอ. สพป. ที่ยอมรับฟังคำขอของเรา เพราะเราเองก็ไม่อยากมีปัญหากับคน ไม่ชอบทะเลาะกับใครแต่วันนี้ก็สุดเลยล่ะไม่ยอม ยังไงก็ต้องกลับบ้านพร้อมลายเซนรับเอกสาร ยื่นแผนและเอกสารขอเปิดบ้านเรียน   

  • ณ จุดๆนี้ถือว่ายากที่สุดเลยของการเปิดบ้านเรียนในจังหวัดที่เราอยู่ เพราะถ้าคุณแรงมาเราแรงกลับ แต่ขอเลยอย่าไปด่ากันนะมันดูไม่ดี เราจะเปิดบ้านเรียนเราก็ต้องเป็นผู้ปกครองที่ใช้เหตุใช้ผล มีความรู้ไม่เอาอารมณ์รุนแรงนำทาง

(สุดท้ายก็ จบด้วยดี)


ตอนที่ 7

สพป./สพฐ. เชิญไปประชุมหารือแผน

สพป. เชิญประชุมหารือแผน

สพป. ส่งหนังสือ ให้เราไปประชุมพิจารณาแผนร่วมกับคณะกรรมการ ของหน่วยงานราชการ

สิ่งที่ต้องทราบก่อนไป

คือ คนที่เปิดบ้านเรียนทุกคนจะรู้คล้ายๆกัน คือ วันที่ไปประชุมแผนกับคณะกรรมการนั้น จนท. เค้าต้องการเสนอให้เราปรับเปลี่ยนแผน เป็นระดับชั้นละแผน คือเราต้องส่ง แผน ป.1 ป.2 ป.3 ….ป.6 แยกกัน แต่แผนของเราที่ทำมันรวม เป็นแผน ป.1-6 ในแผนเดียวเลย ซึ่งทำได้ กรรมการที่ประชุม จะบอกว่ามันทำให้ประเมินยากถ้าเป็นแผนรวม อยากให้เราทำเป็นแผนรายปี ซึ่งวันไปขณะประชุมเราก็ต้องศึกษาเรื่องแผนให้ดี 

วันประชุม เดินทางไป 2 คนกำลังดี ถ้ากรรมการเค้าอยากแนะนำ ให้เค้าแนะนำไปให้จบ แต่ละคน อย่าแย้งกันแบบคำต่อคำจะทำให้บรรยากาศการประชุม มันร้อนเกินไป พอทุกคนเสนอให้เราทำแผนเปลี่ยนรายปี หรืออื่นใด เราก็นำเสนอไปเลยว่า ทางเครือข่าวบ้านเรียน มีแบบประเมินตามสภาพจริง ซึ่งเรียกว่า แผนการประเมินผลรายปี SAR อ่านว่า ซาร์  เป็นคำย่อ Homeschooling Self-Assessment Report  โดยการประเมินในแบบที่เราใช้ ไม่ใช้แบบโรงเรียนในระบบ เพราะเราไม่ได้เรียนเป็นวิชาๆ แต่เน้นประเมินจากการเก็บหลักฐาน ใบงาน ภาพที่วาด กิจกรรมที่เข้าร่วม การบ้าน ที่ทำ ผลงานที่ประดิษฐ์ คือเน้นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่เหมือนโรงเรียนในระบบ ที่บางทีก็สอบเด็ก ทั้งๆที่ไม่ได้สอน แล้วเอาตัวเลขจาก จำนวนข้อสอบมาหาผลคะแนนซึ่งเราไม่ได้ใช้วิธีแบบนั้นในการวัดผลประเมินผล บ้านเรียนเน้นการปฏิบัติจริง เช่นการอ่าน ก็ต้องมาอ่อนให้เราฟัง การทำแผนรายปี เพียงสร้างขั้นตอนเพิ่ม เราควรเน้นกิจกรรมกับเด็กไม่ใช่เน้นทำข้อสอบ หรือไปเน้นการสร้างเอกสารปลอม แบบที่โรงเรียนในระบบทำกัน คือเอาเวลาทั้งหมด มาเฟคเอกสารปลอมเป็นการสร้างผลงานหรือวัดผลสัมฤทธิ์เด็ก แผนที่เราใช้คือใช้ได้จริง ไม่ใช่แค่เราคนเดียวบ้านเรียนที่อื่นก็ใช้แผนแบบนี้ได้ กฎหมาย การศึกษาเปิดกว้างในการจัดการศึกษาและการประเมินผลที่เหมาะสมกับ รูปแบบการศึกษาที่เราทำ เราก็ต้องนำเสนอมุมของบ้านเรียน เพราะส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะไม่ค่อยเข้าใจระบบบ้านเรียนเท่ากับ พี่ๆในกลุ่มเครื่อข่ายบ้านเรียน หากเราไม่เข้าใจอะไรก็ให้ขอคำปรึกษา กลุ่มบ้านเรียนได้โฟสต์ถามได้ทุกอย่างเดี๋ยวจะมีคนมาตอบมาอธิบายทุกข้อสงสัยของเรา


ตอนที่ 8

ยืนยันไม่ปรับแผนเป็นแบบรายปี

ครอบครัวยื่นหนังสือยืนยันไม่ปรับแผน

หลังจากประชุมทางกรรมการจะขอให้เราทำหนังสือยืนยันไม่ปรับแก้แผนการจัดการศึกษาในส่วนของโครงสร้างการจัดประสบการณ์โดยให้แยกเป็นรายปี ทุกครั้งที่ส่งหนังสือถึงราชการ ให้เก็บหลักฐาน แบบมือโปรด้วยทุกครั้ง ทั้งถ่ายไว้ตอนไปไปรษณีย์ก็ถ่าย หรือบางบ้านเรียนก็ส่งทางเมล์ก็ได้ จะส่งหนังสือกันแบบไหนก็ตาม ให้เราเก็บหลักฐานไว้ทั้งหมดให้ดี เพราะหากเกิดปัญหาใดๆจะได้นำมาแสดงเพื่อการตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน


ตอนที่ 9

อนุมัติเปิดบ้านเรียน

วันที่รอคอยก็มาถึง อนุมัติเปิดบ้านเรียน

วันที่ รอคอยก็มาถึงสักที คือวันที่ สพป.ส่งหนังสือแจ้งผลพิจารณาการขออนุญาตจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว

ขั้นตอนนี้ก็ไม่มีอะไรมาคือเราแค่ต้องรอ เอกสารอนุญาต คือหนังสือที่ สพป.ส่งมาให้ที่บ้าน แต่ขณะรอเราก็สอนไปได้เลย ไม่ต้องรอ ถ้าเรียนอยู่ก็ลาออกมาได้เลยจากโรงเรียนไม่ผิดกฏหมายแต่อย่างใด เพราะเด็กต้องการจะศึกษาที่บ้าน ไม่อยากศึกษาที่โรงเรียน


ตอนที่ 10

สพป. แจ้งส่งรายการประเมินการเรียน

สพป. แจ้งให้ส่งรายงานการจัดการเรียนการสอน 2563

-ถึงเวลาครบรอบ 6-12 เดือน สพป.จะส่งหนังสือมาที่บ้าน

เมื่อการเรียนการสอนดำเนินไปครบ 6-12 เดือน  สพป. ก็จะส่งหนังสือมาที่ครอบครัว ให้ส่งรายงานการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเค้าจะให้ระยะเวลาเรามากพอสมควร ประมาณ 20-30 วัน โดยประมาณ จริงๆแล้วการประเมินผลรายปี SAR อ่านว่า ซาร์  เป็นคำย่อ Homeschooling Self-Assessment Report 


ตอนที่ 11

ส่งการประเมินผลรายปีให้ สพป.

ครอบครัว ส่งแผนการประเมินผลรายปี 2563

 ส่งผลการประเมิน SAR

วิธีทำงาน ให้เริ่มกรอกข้อมูล จากแบบฟอร์มที่ทำง่ายก่อน  ส่วนที่เป็นการคำนวณให้แยกออกไปคนละวันกัน จะได้ดูงานเบา งานหนักแยกๆกัน ไม่ปวดหัว ส่วนที่จะช้าก็คือ ส่วนบันทึกตารางบันทึกผลต่างๆ อาจจำเป็นต้องปรับคำหรือข้อความต่างๆให้กระชับ เพื่อความสวยงามของตารางต่างๆ เราควร ทำเอกสาร ร่องรอยการเรียนรู้ ซึ่งจะแยกเป็นกลุ่มประสบการณ์ พร้อมมีภาพประกอบในทุกๆกิจกรรมที่ต้องการนำเสนอเป็นการแสดงผลการเรียน การจัดกิจกรรมที่ทำให้กรรมการดูประกอบการพิจารณากับ SAR ควบคู่กันไป

ดังนั้น เอกสารที่จะส่งไปให้ สพป. รอบนี้ มี 2 ฉบับ

1.การประเมินผลรายปี SAR  2 ชุด

2.ร่องรอยการเรียนรู้ 1 ชุด (อีก 1 ชุดเก็บไว้ที่บ้าน)

ซึ่งแนะนำให้ส่ง การประเมินผลรายปี SAR  ไป2 ชุด เนื่องจาก SAR เราต้องให้ ทาง สพป. ลงรายชื่อ และมีช่องสำหรับ ให้ จนท./กรรมการ แสดงความคิดเห็นและลงลายมือชื่อของกรรมการ ในเอกสารประเมินผลรายปีของเราด้วย แต่ร่องรอยการเรียนรู้ ส่งไป 1 ชุดก็พอ  เพราะไม่มีอะไรต้องเซนชื่อ  

การประเมินผลรายปี SAR อ่านว่า ซาร์  เป็นคำย่อ Homeschooling Self-Assessment Report 

หัวข้อใน SAR

ส่วนที่ 1 การวัดและประเมินผล

ส่วนที่ 2 รูปแบบและผลพัฒนาคุณภาพผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ตามแผนการจัดการศึกษาของครอบครัว

2.1 วิธีการจัดการศึกษาของครอบครัว

2.2 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายการศึกษาของครอบครัว

2.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (เพิ่มเติม) ตามความคาดหวังของครอบครัว

2.4 กรอบการจัดการเรียนรู้ของครอบครัว

2.5 ครอบครัวเลือกการให้ระดับผลการเรียน สะท้อนมาตรฐานระบบ

ตารางที่ 1 เกณฑ์การประเมิน : การให้ระดับคะแนน

ตารางที่ 2 ตารางบันทึกผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์

ตารางที่ 3 สรุปผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามแผนการศึกษาของครอบครัว

ส่วนที่ 3 ผลการประเมินความสามารถและทักษะการเรียนรู้คุณลักษณะ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในแผนการศึกษาของครอบครัว

ตารางที่ 4 บันทึกผลการให้คะแนนระดับคุณภาพการเรียนรู้ ตาม “จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน”

1. สรุปผลการประเมินจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน

ตารางที่ 5 แบบประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้าน “การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน”

บันทึกเพิ่มเติม

ตารางที่ 6 ประเมินผล “กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน”

สรุปผลการเรียนรู้ตามแผนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว


ตอนที่ 12

สพป. ส่งรายงานที่เซนแล้วกลับมาให้

และนัดเยี่ยมบ้าน

สพป. ส่งการประเมินผลรายปี 2563 กลับมา 1 ชุดหลังลงรายเซน

และนัดหมาย ประเมินผลเชิงประจักษ์(เยี่มบ้าน)

สพป. ส่งการประเมินผลรายปี 2563 กลับมา 1 ชุดหลังลงรายเซน และนัดหมาย ประเมินผลเชิงประจักษ์(เยี่ยมบ้าน)

กรรมการจะเซนชื่อลงในเอกสาร ชุดที่สำหรับส่งกลับมาให้เรา ตามที่เราได้แจ้งไว้ในหนังสือนำส่งไปแล้ว และ สพป. จะแจ้งให้เรานัดหมายเวลาเพื่อจะเข้ามาตรวจเยี่ยมบ้านเรียน เพื่อตรวจผลประเมินผู้เรียนเชิงประจักษ์ เราก็โทรคุยกับเจ้าหน้าที่ได้เลย จะให้ดีคุยกับ ผอ. หรือผู้รับผิดชอบโดยตรง หากเราต้องการเลื่อนวัน หรือไม่ว่างก็โทรคุยปากเปล่ากันก่อน แล้ว เรายื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไปอีกครั้ง1 อย่าลืมทุกครั้งที่ จนท. มาเยี่ยมบ้าน ต้องขอถ่ายรูปเอาไว้ และอาจถ่ายเป็นวิดีโอเอาไว้ด้วยก็ได้ เพื่อเก็บหลักฐานต่างๆให้ครบถ่าย ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว


ตอนที่ 13

สพป. มาเยี่ยมบ้านตรวจเด็กเชิงประจักษ์

สพป. มาตรวจเชิงประจักษ์หลังส่ง SAR

เยี่ยมบ้านหลังตรวจ SAR

เป็นการมาเยี่ยมบ้านเพื่อมาดูความสามารถของเด็กว่าเป็นไปตามที่ เราประเมินใน SAR หรือไม่

แต่ก็ไม่ต้องกังวลอะไรให้เด็กเค้าเก่งตามที่เรา สอนเอาไว้ ได้แค่ไหนแค่นั้น เพราะความรู้ความเข้าใจของเด็กก็มีหลง มีลืมสลับไปมา บางทีจำแม่นยำ บางครั้งลืม เพราะฉนั้นเราสอนเรียนกันตามสภาพจริงเช่น สอน การหาร ไปแล้ว 2 วันยังไม่เข้าใจ เราก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอน แล้วให้ทำซ้ำๆจนเกิดชำนาญ เดี๋ยวก็ได้เองซึ่งทางครอบครัวก็ทำแบบนี้ ได้ผลดีมากเรียนสอนกัน อย่านาน แค่ 30-50 นาทีต่อครั้ง แต่ให้ทำทุกๆวันๆ เพราะความต่อเนื่องและความสมำเสมอช่วยให้เด็กเข้าใจและลึกซึ้งกับข้อมูลมากกว่าเรียนแค่ครั้ง 2 ครั้งแล้วจบๆกันไป การเรียนวิชาไหนๆก็เหมือนเรียนดนตรีที่ต้องอาศัยความชำนาญการฝึกฝนเช่นกัน ที่บ้านเรียนของเราก็เน้น ป.2 คืออ่านภาษาไทยให้เก่งๆ เขียนยังไม่ต้องเก่งแต่ต้องอ่านเก่งไว้ก่อน เพราะถ้าอ่านได้ดี ก็จะสามารถอ่านสิ่งที่เด็กเค้าสนใจได้อีกมากมาย และการคำนวณคณิตศาสตร์ก็ต้อง ทำได้เหมือนคนอื่นๆทั่วไป เน้นความเข้าใจจริงๆจังๆ ไม่ทำแบบในห้องเรียนในระบบที่สอนแบบเน้นในตำรา เน้นเอาสอบผ่าน หรือเน้นหลักการ จนลืมความเข้าใจเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพราะนั่นสำคัญกว่าการคำนวณได้แค่ตัวเลข คณิตที่สำคัญมากๆ คือโจทย์ปัญหา ต้องเน้นให้ฝึกอ่านไทย โดยเอาโจทย์คณิตมาให้อ่านครั้งละ 1-2 โจทย์ ทุกวัน แล้วแต่วิธีของและละครอบครัวด้วย



ตอนที่ 14

จบขั้นตอนการจัดบ้านเรียน

จบการจัดบ้านเรียน 1 ปี

สิ้นสุดกิจกรรม 1ปีแรกของการเปิดบ้านเรียน

จบสิ้นกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มเปิดบ้านเรียน จนถึงประเมินผลการเรียนการสอนเด็ก ในปีการศึกษาต่อๆไป ก็จะไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากอีกแล้ว เพราะคงจะเหลือแค่ ขั้นตอน 

  1. ส่งการประเมินผลรายปี SAR  2 ชุด

  2. ส่งร่องรอยการเรียนรู้ 1 ชุด  (อีก 1 ชุดเก็บไว้ที่บ้าน)

  3. สพป. มาเยี่ยมบ้าน 1-2 ครั้งต่อปี

  4. จัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

ขอให้ทุกครอบครัวที่สนใจเปิดสอนบ้านเรียน ทำโฮมสคูลก็มีความตั้งใจจากความรักลูกเข้าใจลูกสอนกันด้วยความรักความอบอุ่นไม่ทำร้ายร่างกาย จิตใจเด็ก เน้นตัวเด็กเป็นสำคัญ เราเป็นเพียงผู้สนับสนุนสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้ การเลือกเป็นของเด็กให้เค้าเลือกตามความสนใจ ส่วนอะไรที่จำเป็นต้องรู้เราก็ต้องอธิบายความสำคัญเรื่องนั้นๆให้เด็กเข้าใจ เช่น วิทย์ คณิต ไทย อังกฤษ ว่าสำคัญกับ คนอย่างไร แล้วเด็กก็จะเปิดใจอยากเรียนสิ่งเหล่านั้นด้วยตนเอง




Home

Home School บ้านเรียนแสนสุขใจ ของ น้องเติ้ลตะวัน ครูคือครอบครัวที่อบอุ่น น้องเติ้ลเรียนด้วยความสุข เน้น“การเรียนรู้ตลอดชีวิต L...